History 1

ประวัติส่วนตัว

นายฉัตรกมล มุ่งพยาบาล
ที่อยู่  120  หมู่ 13  ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร

คู่สมรส  นางเอมอร  มุ่งพยาบาล
บุตรชาย 2 คน

ประวัติการศึกษา

ระดับ ปวช.  วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง

ระดับ ปวส.  วิทยาลัยเกษตรไสใหญ่ วิทยาเขตนครศรีธรรมราช

ระดับปริญญาตรี 

1) จบปริญญาตรีคณะผลิตกรรมการเกษตร

มหาวิทยาลัยแม่โจ้

2) จบการจัดการชุมชน (เกียรตินิยมอันดับ 1)

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระดับปริญญาโท  คณะรัฐประศาสนศาสตร์

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

1) จบหลักสูตรนักบริหารระดับสั้น 6 เดือน “จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”

2) จบหลักสูตรที่ปรึกษาแผนธุรกิจ “จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ & บรรษัทวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม

–  ผ่านการอบรมหลักสูตรแมลง-สัตว์ ศัตรูพืช และการป้องกันกำจัด (กรมวิชาการเกษตร : 2538)

–  ผ่านการอบรมหลักสูตร ผู้ควบคุมวัตถุอันตรายทางการเกษตร (กรมวิชาการเกษตร : 2539 และ2552)

–  ผ่านการอบรมหลักสูตร โครงการจัดการดิน น้ำ และปุ๋ย เพื่อทำสวนเชิงธุรกิจ (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย : 2545)

–  ผ่านอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการควบคุมโรคพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจในการผลิตเชื้อจุลินทรีย์ (B subtitles : 2545)

–  ผ่านการอบรมหลักสูตร การจัดการและปฏิบัติการทุเรียน ตามระบบ GAP ในระดับ Q2 – Q3 :2548

–  ผ่านการอบรมหลักสูตร การปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพผลผลิตทุเรียนเข้าสู่ระบบ มาตรฐาน EUREPGAP : 2549

–  การอบรมหลักสูตร Thai GAP Level 2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน : 2555

 

ประสบการณ์การทำงานเกษตรกรรมด้านพืช (ไม้ผล)

ปี พ.ศ.2534 – 2539 พนักงานฝ่ายการตลาด บริษัท ทีเจ.ซี เคมีจำกัด

ปี พ.ศ.2539          ดำรงตำแหน่ง  ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาด บ.ฟีเชอร์เคมีจำกัด

ดำรงตำแหน่ง  ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บ.นนทรีการเกษตร จำกัด

ปี พ.ศ.2540-ปัจจุบัน   ทำการเกษตรเกี่ยวกับการผลิตทุเรียนทั้งนอก-ในฤดูกาล, สวนลองกอง

ปี พ.ศ.2545          เขียนหนังสือเกี่ยวกับการผลิตทุเรียนนอกฤดูฉบับเกษตรกร 2545

ปี พ.ศ.2546          คณะทำงานจัดทำคู่มือการผลิตทุเรียนนอกฤดู ของจังหวัดชุมพร ร่วมกับ

สำนักงานเกษตรจังหวัดชุมพร พ.ศ.2546

ปี พ.ศ.2547 – 2551 ตัวแทนเกษตรกรร่วมประชุมสัมมนา “ยุทธศาสตร์การเกษตร

แบบบูรณาการ จังหวัดชุมพร ระยะเวลา 5 ปี  (พ.ศ.2547 –พ.ศ.2551)

ปี พ.ศ.2548          ผู้ถูกเสนอชื่อประชุมคัดเลือกกันเอง เพื่อเป็นสมาชิกที่ปรึกษาเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติ  ชุดที่ 2  ปี พ.ศ.2548

–  ทำงานตำแหน่ง  รองเลขานุการ     ชมรมชาวสวนทุเรียนนอกฤดู จังหวัดชุมพร 2545

–  ร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตร การวางแผนเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาทุเรียนและมังคุดภาคใต้ระหว่าง 22 – 26 มีนาคม 2547  โดยสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 5 สงขลา

–  ทำงานตำแหน่ง  เลขานุการ สมาคมชาวสวนทุเรียนจังหวัดชุมพร 3 สมัย

–  ตัวแทนเกษตรกรร่วมประชุมศึกษาร่างสภาการเกษตรแห่งชาติ  ณ ห้องประชุมรัฐสภา กรุงเทพฯ 2550

–  ตัวแทนเกษตรกรภาคใต้ตอนบน ทำงานคณะกรรมการแก้ไขปัญหา การจัดทำฐานข้อมูลทางไม้ผลเศรษฐกิจภาคใต้ ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 5  กับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต ที่ 8  2552 จนถึงปัจจุบัน

–  ตัวแทนเกษตรกรร่วมประชุมแก้ไขปัญหาผลไม้ ปี 2552, 2553  จังหวัดชุมพร

ปี พ.ศ. 2554

–  ผู้รับผิดชอบร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอ  จัดนิทรรศการ “การเพิ่มผลผลิตน้ำยาง 3 – 5 เท่า โดยใช้อุปกรณ์เพิ่มน้ำยางร่วมกับฮอร์โมนเอสเทอลีน 99.9% งานเกษตรแฟร์ ณ หนองใหญ่  จ.ชุมพร

–  ผู้รับผิดชอบ จัดนิทรรศการ “หมดยุคทุเรียนร่วง” ของสมาคมชาวสวนไม้ผลจังหวัดชุมพร “งานผลไม้จังหวัดชุมพร” อ.หลังสวน  จ.ชุมพร

–  ทำงานตำแหน่ง  เลขาธิการสมาคมชาวสวนไม้ผลจังหวัดชุมพร 2554 – ปัจจุบัน

–  คณะกรรมการบริหารจัดทำโครงการเปิดโลกวิชาการไม้ผล ครั้งที่ 1 – 6 จ.ชุมพร

–  ทำงานตำแหน่ง  ประธานกลุ่มเกษตรกรทำสวนทุเรียนบ้านห้วยเหมือง พ.ศ.2554 – ปัจจุบัน

–  ทำงานตำแหน่ง  อาสาสมัครเกษตร หมู่ที่ 13 ต.นาขา อ.หลังสวน จ.ชุมพร

–  ทำงานตำแหน่ง  ที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหาร อาสาสมัครเกษตรระดับจังหวัดชุมพร

–  ทำงานตำแหน่ง  คณะกรรมการบริหารศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีตำบลนาขา

 

ปัจจุบัน  ประกอบกิจการ

สวนทุเรียน 

31 ไร่ 3 งาน 46 ตารางวา  อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร  และสวนทุเรียน 10 ไร่ อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร

      ทำการผลิตทุเรียน ระบบ GAP โดยมีการผลิตทั้งในและนอกฤดูบนพื้นฐานข้อมูลการให้ผลผลิตทั้งภาคใต้ – ภาคตะวันออก มาตัดสินใจผลิตออกสู่ตลาด สวนทุเรียนเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของเกษตรกรและที่ฝึกงานของนักศึกษา ทั้งในและนอกพื้นที่

 

สวนลองกอง 

อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร  จำนวน 15 ไร่

      การผลิตเน้นการจัดการผลผลิต แบบช่อโดยมีขบวนการผลิตตัดแต่งช่อดอก ช่อผล เพื่อให้ได้ลองกองคุณภาพ ช่อยาวสวย

 สวนยางพารา 50 ไร่

ทำการผลิตยางพาราด้วยระบบใช้ฮอร์โมนเอสเทอลีน  รูปก๊าซ ในการเพิ่มปริมาณน้ำยาง 3 – 5 เท่า ทำมาแล้ว 2 ปี เข้าสู่ปีที่ 3 ฤดูกาลใหม่ปัจจุบัน และเป็นสถานที่ศึกษาดูงานของเกษตรกรชาวสวนยางพาราทั้งในและนอกพื้นที่

History

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *